about

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ที่ตั้ง

อาคารภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หมายเลขอาคาร 06118 คณะวิศวกรรมศาสตร์

ประวัติความเป็นมา

ใน พ.ศ.2525 ได้มีการพัฒนาด้านการศึกษาโดยเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุโรจน์ นิมมลรัตน์ อาจารย์ ดร.ยงยุทธ พิสิฐพิพัฒนา และรองศาสตราจารย์ ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและต่อมาพ.ศ. 2526 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการอย่างเป็นทางการ และดำเนินการเปิดการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันภาควิชาฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งสิ้นจำนวน 5 หลักสูตร

วิสัยทัศน์

พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เป็นสากล ทันสมัย งานวิจัยที่เป็นเลิศ ส่งเสริมคุณธรรมที่ดี และสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าของภาควิชาอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

  • เป็นแหล่งผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการในเขตภาคเหนือ ผ่านกลไกการเรียนการสอนที่ทันสมัย
  • ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยด้านวิศวกรรมอุตสาหการ
  • ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา
  • ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม
  • ส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

นโยบายและเป้าหมาย

  1. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าแต่ละรุ่น
  2. ความเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการสอนของคณาจารย์ไม่ต่ำกว่า 3.75 ใน 5.00
  3. จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลามีสัดส่วนเป็น 1 : 7
  4. ร้อยละ 40 ของกระบวนวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดต้องมีการให้ข่าวสารข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  5. มีจำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโทได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ทั้งหมด
  6. อย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดได้เข้าร่วมโครงการ คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและทักษะชีวิต
  7. มีจำนวนบทความวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ โดยได้รับการประเมินจากผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนอาจารย์ประจำอย่างน้อย 1 เรื่องต่อ 1 ปี
  8. ร้อยละ 50 ของงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือในวงธุรกิจอุตสาหกรรม หรือการพัฒนาประเทศ
  9. จำนวนครั้งของการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อคนต่อปี
  10. จำนวนอาจารย์เป็นกรรมการวิชาการ/วิชาชีพ/กรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบันต่ออาจารย์ประจำทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 20
  11. จำนวนกิจกรรม หรือโครงการที่ให้บริการวิชาการแก่สังคม และชุมชน มีจำนวนอย่างน้อย 2 โครงการต่อปี
  12. จำนวนกิจกรรมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  13. จำนวนกิจกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี